วันอังคารที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ประวัติส่วนตัว

ประวัติส่วนตัว



ชื่อ นายกฤติน  โพธิ   ชื่อเล่น ไปร์

เกิดวันที่ 5 กรกฎาคม 2534  อายุ 21 ปี

กำลังศึกษา :  มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร คณะวิทยาลัยการฝึกหัดครู

                   ปีที่ 4 หมู่เรียนที่ 2

เบอร์โทร :  085-0651516

E-mail :  spaizy_0507@hotmail.com

ภูมิลำเนา :  จังหวัดปทุมธานี

งาอดิเรก  :  เล่นไพ่ ดูหนัง ฟังเพลง จอบหลอยผู้ชาย

คติประจำตัว : รากฐานของตึกคืออิฐ รากฐานของชีวิตคือการศึกษา



ข่าวสารน่ารู้

สสร.เอกฉันท์ รธน.ใหม่ฉลุย"บิ๊กบัง"สั่งสื่อทหารตีปี๊บให้ชาวบ้านรับ
เมื่อ เวลา 10.00 น. ที่รัฐสภา มีการประชุมสภาร่างรัฐธรรมนูญ มีนายนรนิติ เศรษฐบุตร ประธานสภาร่างฯ เป็นประธาน วาระพิจารณาลงมติรับหรือไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ 2550 ทั้งฉบับโดยไม่มีการอภิปราย นายนรนิติ แจ้งว่าการลงมติร่างรัฐธรรมนูญ จะใช้การเรียกชื่อรายบุคคลและลงคะแนนโดยเปิดเผยว่าเห็นชอบ หรือไม่เห็นชอบ หรืองดออกเสียง และต้องใช้คะแนนเสียงเกินกึ่งหนึ่ง ร่างฯ ถึงจะผ่านการเห็นชอบจากสภา

จากนั้นเป็นการขานชื่อรายบุคคลเพื่อลง มติโดยเปิดเผยใช้เวลา 30 นาที ผลปรากฏว่าส.ส.ร.เห็นชอบ 98 ต่อ 0 เสียง ผู้ที่ขาดการประชุมคือ นายพิสิฐ ลี้อาธรรม ที่ลาเดินทางไปต่างประเทศ และนายชาติชาย แสงสุข ซึ่งเดินทางมาไม่ทันการประชุม โดยอ้างว่ารถเสีย

ต่อ มา ได้พิจารณาวาระการกำหนดวันเผยแพร่ร่างฯ อย่างเป็นทางการ ตามประกาศส.ส.ร.ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการเผยแพร่ร่างรัฐธรรมนูญและการออก เสียงประชามติ ข้อ 4 ที่ให้สภามีมติประกาศกำหนดวันเผยแพร่ร่างฯ และประกาศในราชกิจจานุเบกษา นายนรนิติหารือว่าได้หารือในคณะกรรมาธิการวิสามัญกิจการส.ส.ร.แล้วจะพิมพ์ ร่างฯ จำนวน 19-20 ล้านฉบับเผยแพร่ประชาชนต้องใช้เวลาพิมพ์ 14 วัน จากนั้นกกต.จะช่วยเผยแพร่ทางไปรษณีย์ไปยังครัวเรือนใช้เวลา 10 วัน รวม 24 วัน จึงขอกำหนดวันที่ 31 ก.ค. เป็นวันเผยแพร่ร่างฯ อย่างเป็นทางการ ส่วนเนื้อหาและสาระสำคัญส.ส.ร.สามารถเผยแพร่รณรงค์ได้เลย ที่ประชุมมีมติเห็นด้วย

จากนั้นเป็นการพิจารณาวาระการกำหนดวันลง ประชามติ นายนรนิติขอหารือให้เป็นวันที่ 19 ส.ค. มีสมาชิกเสนอให้ยืดไปอีก 1 อาทิตย์ แต่นายประพันธ์ นัยโกวิท ส.ส.ร.และกกต. ยืนยันว่าวันดังกล่าวเหมาะสม นายนรนิติ ชี้แจงว่า ถ้าเลื่อนไปเกิดเหตุฉุกเฉินจะเลื่อนอีกไม่ได้ ที่ประชุมจึงมีมติเห็นด้วย

-แนะส.ส.ร.ต้องเร่งชี้แจงประชาชน

จาก นั้นเปิดหารือในเรื่องทั่วไป สมาชิกหลายคนสงสัยเรื่องการรณรงค์เผยแพร่ให้รับร่างฯ โดยห่วงว่าอาจพลาดไปทำผิดกฎหมายประชามติ และเสนอให้มีคู่มือลงพื้นที่ของส.ส.ร. เพื่อไม่ให้พลาดอย่างที่บางคนขู่ว่าระวังติดคุก นายนรนิติชี้แจงว่า ต้องรอกฎหมายประชามติออกก่อน ซึ่งมีส.ส.ร.ที่ร่วมพิจารณาร่างพ.ร.บ.ดังกล่าว จะมาทำความเข้าใจ จากนั้นปิดการประชุมเวลา 11.45 น.

นายนรนิติให้ สัมภาษณ์กรณีส.ส.ร.เป็นห่วงการเผยแพร่ร่างรัฐธรรมนูญจะเสี่ยงต่อการกระทำผิด ตามร่างพ.ร.บ.ว่าด้วยการออกเสียงประชามติ พ.ศ. .... ว่า เมื่อพ.ร.บ.ดังกล่าวออกมาแล้วต้องพิจารณาให้รอบคอบ โดยหลักต้องเผยแพร่ความจริงตามเอกสารและโดยสุจริตใจ ส.ส.ร.สามารถอธิบายความดีของร่างรัฐธรรมนูญได้ แต่การที่ประชาชนจะเห็นด้วยหรือไม่ถือเป็นสิทธิ ส.ส.ร.และกมธ.ยกร่างฯ ต้องอธิบายให้มากที่สุดตามข้อเท็จจริงแล้วให้ประชาชนเป็นผู้ตัดสิน

นาย นรนิติกล่าวว่า ขั้นตอนต่อไปร่างรัฐธรรมนูญจะผ่านประชามติหรือไม่ขึ้นอยู่กับปัจจัย หลายอย่าง ซึ่งเห็นว่าเมื่อร่างรัฐธรรมนูญมีความเป็นประชาธิปไตยและดีพอสมควรแล้ว ผลจะออกมาอย่างไรต้องยอมให้ประชาชนเป็นผู้ตัดสิน และหากประชาชนตัดสินแล้วว่าไม่รับถือเป็นสิทธิ จากนั้นทุกอย่างต้องเป็นไปตามขั้นตอนหรือตามรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวแต่เมื่อ ทำมาถึงวันนี้ก็รู้สึกสบายใจแล้ว ตัวรัฐธรรมนูญเป็นหลักฐานอยู่แล้ว สิ่งที่เราต้องพยายามทำคืออธิบาย และคาดว่าสื่อควรจะช่วยส่งข้อความที่ถูกต้องและเป็นจริงของร่างรัฐธรรมนูญ ฉบับนี้ไปยังประชาชน อะไรที่ไม่ได้ดีอยู่จริงก็ไม่ต้องไปบอกว่าดีอย่าไปโกหก แต่อะไรที่ดีควรเผยแพร่และถ้าไปบอกว่าดีคงไม่เป็นไร

-รับมีเวลาชี้แจงน้อย-เสียเวลาพิมพ์

นาย นรนิติกล่าวว่า ตอนที่รับทั้งหมด 98 คนเห็นพ้องหมดว่าดีถึงได้รับและต้องกล้าอธิบาย อย่างรัฐธรรมนูญฉบับปี"40 ตอนประกาศใช้บอกว่าดีที่สุดแต่เมื่อใช้มาแล้วต้องมีข้อแก้ไข ดังนั้นไม่จำเป็นต้องบอกว่ารัฐธรรมนูญฉบับที่เราร่างดีกว่าฉบับอื่นแต่อยาก ให้ประชาชนดู ปัญหามันเกิดขึ้นจากการใช้รัฐธรรมนูญปี"40 ก่อน 19 ก.ย. และไม่ว่าจะมีเหตุอะไรคนก็พูดว่าจะแก้ไขรัฐธรรมนูญปี"40 อย่างไร ถ้าย้อนไปดูตามเอกสารตามหลักฐานจะเห็นว่ามีปัญหาต้องแก้ไข ถามว่ารัฐธรรมนูญปี"50 เมื่อแก้ไขแล้วก็เก็บของรัฐธรรมนูญปี"40 เอาไว้ และแก้เท่าที่จำเป็นมากๆ เพื่อให้เป็นที่รับได้ เมื่อแก้แล้วจะมีปัญหาอย่างไรผู้ยกร่างพยายามคิดแล้วก็ต้องใช้ไปอีกระยะ หนึ่ง แต่รัฐธรรมนูญแก้ไขได้ต้องถือหลักนี้

ผู้สื่อข่าวถามส.ส.ร. เป็นห่วงเวลาในการเผยแพร่น้อยมาก นายนรนิติกล่าวว่า เวลามีน้อยจริง แต่ที่กำหนดให้วันที่ 31 ก.ค. เป็นวันเริ่มต้นของการเผยแพร่เพราะไม่สามารถทำได้เร็วกว่านั้น เนื่องจากการพิมพ์ 19-20 ล้านฉบับนั้นต้องใช้เวลา และการเผยแพร่ต้องให้ทั่วถึงทั้งประเทศ เพื่อให้ประชาชนได้รับร่างรัฐธรรมนูญและเข้าใจเนื้อหาร่างรัฐธรรมนูญให้ได้ มากที่สุด ซึ่งก่อนหน้านี้รัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวกำหนดให้ส.ส.ร.พิจารณาร่างรัฐธรรมนูญ ให้เสร็จภายใน 180 วัน ก็เสร็จตามนั้น ในขั้นตอนที่ส.ส.ร.ลงไปอธิบายร่างรัฐธรรมนูญให้ประชาชนฟังในแต่ละพื้นที่ ตนจะหาโอกาสลงไปให้กำลังใจกับส.ส.ร.และหน่วยงานในพื้นที่ต่างๆ

-ยังกังวลว่าจะเกิดเหตุการณ์วุ่นวาย

ประธาน สภาร่างรัฐธรรมนูญ กล่าวว่า หากการลงประชามติร่างรัฐธรรมนูญในวันที่ 19 ส.ค. เรียบร้อย น่าจะเลือกตั้งได้ในปีนี้ แต่การกำหนดวันเลือกตั้งเป็นเรื่องของรัฐบาลและกกต. เมื่อถามว่ากังวลว่าจะเกิดเหตุการณ์วุ่นวายก่อนวันลงประชามติหรือไม่ นายนรนิติ กล่าวว่า กังวลมาก่อนหน้านี้หลายเดือนแล้วและขณะนี้ความกังวลก็ยังมีอยู่ และคิดว่าเมื่อไหร่ที่รัฐธรรมนูญฉบับปี 2550 ประกาศใช้พวกตนก็คงหมดกังวล

ผู้ สื่อข่าวถามว่าตลอดระยะเวลา 180 วันในการทำหน้าที่ประธานส.ส.ร. รู้สึกท้อแท้หรือน้อยใจบ้างหรือไม่ นายนรนิติกล่าวว่า เมื่อรับมาทำงานจะรู้สึกอย่างไรต้องห้ามบ่นเพราะไม่ได้ถูกบังคับให้มาทำ เมื่อไปรับมาแล้วต้องคิดว่าทำให้ดีกับสังคมที่อยู่ เมื่อเรามีกรอบเวลา 180 วันและสามารถทำเสร็จตามกรอบ ในฐานะประธานตนก็รู้สึกโล่งใจแม้จะมีความกังวลอยู่บ้างในขั้นตอนการอธิบาย กับประชาชนแต่จะพยายามทำให้ดีที่สุด ซึ่งส.ส.ร.ทุกคนต้องร่วมมือกันทำให้สำเร็จ

-"บุญรอด"รับกล่อมให้รับรธน.ใหม่

ที่ กระทรวงยุติธรรม นายชาญชัย ลิขิตจิตถะ รมว.ยุติธรรม กล่าวว่า ภายหลังส.ส.ร.ลงมติรับร่างรัฐธรรมนูญฉบับปี 2550 ตนจะสั่งการให้ทุกหน่วยงานในกระทรวงเร่งประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนออกไปใช้ สิทธิลงประชามติ แต่จะไม่ชี้นำว่าควรรับหรือไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ ทั้งนี้เพื่อให้ประชาชนได้ศึกษาเนื้อหาในร่างรัฐธรรมนูญและตัดสินใจด้วยตน เองว่าจะรับร่างรัฐธรรมนูญหรือไม่

ที่ขส.ทบ.พล.อ.บุญรอด สมทัศน์ รมว.กลาโหม ให้สัมภาษณ์ถึงนายมีชัย ฤชุพันธุ์ ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ(สนช.) ระบุการรณรงค์รับหรือไม่รับร่างรัฐธรรมนูญสามารถทำได้ว่า เรื่องนี้ตนจะลงไปพบปะกับประชาชนในพื้นที่ จ.อุบลราชธานี และจ.อำนาจเจริญ ให้เขาใช้วิจารณญาณและดุลยพินิจว่าจะรับหรือไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ ซึ่งการเลือกตั้งจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อร่างรธน.ได้รับประชามติมันถึงจะ เรียบร้อย ถ้าหากว่าไม่รับประชามติแล้วก็จะเป็นปัญหาที่วุ่นวายต่อเนื่องไม่จบง่ายๆ คิดว่าประชาชนส่วนใหญ่หวังจะให้มีการเลือกตั้งเพื่อให้มีรัฐบาลที่มาจากการ เลือกตั้งและเป็นประชาธิปไตย และทุกสิ่งทุกอย่างจะกลับคืนสู่สภาพปกติ

พล.อ.อ.ชลิต พุกผาสุข ผบ.ทอ. รองประธานคมช.กล่าวว่า หากเราต้องการให้ระบอบประชาธิปไตยกลับสู่ประเทศไทย เราต้องมีการเลือกตั้ง และถ้ามีการเลือกต้องมีรัฐธรรมนูญนี้ออกมาใช้งาน เพระรัฐธรรมนูญเดิมถูกยกเลิกไป แต่มีบางคนต่อต้านทั้งที่ยังไม่ได้ศึกษา ประชาชนควรเปิดใจและพร้อมรับร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ รวมทั้งเข้าใจเจตนารมณ์ของการร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ ถ้าเพียงแต่ผู้ที่เกี่ยวข้องและทุกๆคนเปิดใจให้กว้าง ศึกษาอย่างถ่องแท้ซึ่งจะเข้าใจ ช่วยกันสนับสนุนการลงประชามติเรียบร้อย